1.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ประเภทต่างๆ
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime)
หมายถึง
เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว
ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์”
หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ
ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม
อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง
ตัวอย่าง อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2555 เวลา 09:37 น.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดย
นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงฯ แถลงข่าวร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
แจ้งผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ให้ส่งต่อ หรือ แชร์ กดถูกใจ หรือ ไลค์
ซึ่งจะทำให้ข้อความ หรือ ภาพที่เผยแพร่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์กระจายต่อไป
ในกรณีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ของไทยรายหนึ่ง
โดยคำแถลงอธิบายว่า การส่งต่อข้อความดังกล่าว อาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังอาจเข้าข่ายความผิด
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ฐานเป็นการเผยแพร่ข้อความที่มีเนื้อหาอันส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ
การรีบแถลงข่าว เป็นการสร้างความรู้
ให้เกิดความเข้าใจถึงความไม่เหมาะสมในการส่งต่อข้อความทางอินเทอร์เน็ต
พร้อมกับอธิบายว่า ผู้กระทำสุ่มเสี่ยงต่อความผิดทางกฎหมายนั้น
เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับปัญหาที่เริ่มต้น ในขณะที่ข้อเท็จจริงทราบกันว่า
เรื่องที่เกิดมิใช่การจงใจที่จะทำให้ปรากฏความไม่เหมาะสม
เพียงแต่อาจมีมุมมองของบางคนที่เข้าใจในทางอื่น และนำไปเผยแพร่ ซึ่งผู้เกี่ยวข้อง
ตลอดจนหน่วยงานต้นสังกัด ได้ชี้แจงแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า
มิได้มีความมุ่งหวังในทางไม่เหมาะสม
ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า
การใช้คอมพิวเตอร์ หรือ การส่งข้อความผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้น
มีกฎหมายควบคุมการเข้าถึง หรือ การนำเข้าสู่ระบบ
หรือไม่ทราบว่าแม้เพียงการกดไลค์ก็เท่ากับช่วยขยายเนื้อความให้กระจายตัวมากขึ้น
จึงมีบางส่วนที่อาจได้ยินข่าว อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ก็มักพิมพ์คำ หรือ
ข้อความสืบค้น เมื่อพบแล้วก็ส่งให้ผู้อื่นทราบเพิ่มขึ้น
โดยลืมหรือไม่ทราบว่าเป็นการสนับสนุนการส่งข้อความที่เข้าลักษณะผิดกฎหมายอีกทอด
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รวมถึงหน่วยงานด้านการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี ควรใส่ใจให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ความรู้กับประชาชน
และเยาวชน ต่อปัญหาทำนองนี้ให้ทั่วถึงมากที่สุด ผ่านช่องทางต่าง ๆ
เพราะนับวันผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต
ตลอดจนเครือข่ายสังคมออนไลน์จะทวีขึ้นเรื่อย ๆ
และกำลังจะมีเด็กที่เรียนหนังสือชั้น ป.1 ขึ้นไป ร่วมเป็นประชากรออนไลน์กลุ่มใหม่ที่พร้อมจะส่งต่อข้อความที่มีผู้เผยแพร่ให้กระจายยิ่งขึ้น
จากการขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง
การสร้างความรับรู้ล่วงหน้า จะดีกว่ารอให้เกิดปัญหาแล้วแถลง
เพราะเทคโนโลยีทางการสื่อสารทุกวันนี้ทำให้การหลั่งไหลข้อมูลไปทั่วโลกได้ภายในไม่กี่นาที
ถ้ามีใครนำไปขยายผลในทางร้ายจึงสร้างปัญหาได้เร็ว และตามแก้ไขได้ยาก.
ข้อมูลอ้างอิงhttp://www.dailynews.co.th/article/439/162102
2. จงอธิบายความหมายของ
2.1 Hacker หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ
มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ
รักษาความปลอดภัยของ คอมพิวเตอร์ได้
แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์
2.2 Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถเข้าสู่ระบบได้
เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูล หรือทำให้ เครื่องคอมพิวเตอร์
เสียหายรวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์
2.3 สแปม (Spam) คือ
การส่งอีเมลที่มีข้อความโฆษณาไปให้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ
การสแปมส่วนใหญ่ทำเพื่อการโฆษณาเชิงพาณิชย์ มักจะเป็นสินค้าที่น่าสงสัย
หรือการเสนองานที่ทำให้รายได้อย่างรวดเร็ว หรือบริการที่ก้ำกึ่งผิดกฏหมาย
ผู้ส่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการส่งไม่มากนัก
แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้รับอีเมลนั้น
2.4 ม้าโทรจัน (อังกฤษ: Trojan horse) หมายถึง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์
เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน
เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ
โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว
แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์,
หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ
"ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)
โปรแกรมม้าโทรจัน ถือเป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
ไม่มีคำสั่งหรือการปฏิบัติการที่เป็นอันตรายต่อตัวคอมพิวเตอร์
จึงไม่ถือว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์
2.5 Spyware คือ
โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง
การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ
และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัว หลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่
, E-Mail --mlinkarticle--} Address และอื่น ๆ
ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ
หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ
ในเครื่องเราด้วย และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้
ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง
ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น
คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย
วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ถูกโจมตีจากสปายแวร์
1. ติดตั้งโปรแกรม Anti-Spyware ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้
Anti-Spyware ตรวจหา Spyware ในเครื่องคอมพิวเตอร์
เเละเตือนให้เราทำการลบ
2.
ไม่ดาว์นโหลดไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
3.
ตรวจสอบ Update โปรแกรม Antivirus เนื่องจากปัจจุบันมีการสร้าง
โปรแกรมประเภท Virus
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น